[กลับหน้าหลัก ความรู้ในงาน HR] ค้นหางาน ตำแหน่งงาน: กลุ่มงาน : ตำแหน่งงาน - แยกตามกลุ่มงาน งานเกษตร ประมง/งานปศุสัตว์/งานเหมืองแร่ งานบุคคล/งานฝึกอบรม/งานสรรหา/งานค่าจ้าง งานการตลาด/งานขาย ส่งเสริมการขาย/ Sale งานโรงแรม ท่องเที่ยว/งานอาหาร เครื่องดื่ม งานกฎหมาย นิติกร/งานปกครอง รัฐศาสตร์ งานราชการ/พนักงานราชการ/งานครู อาจารย์ งานช่างก่อสร้าง/ช่างสำรวจ/งานโยธา-รังวัด งานเทคนิคอุตสาหกรรม/งานซ่อมบำรุง งานช่างกล ช่างโลหะ/งานช่างเครื่อง ช่างยนต์ งานช่างอิเลคโทรนิค ช่างไฟฟ้า/ช่างคอมพิวเตอร์ งานเขียนแบบ/งานDrawing /งานDraftsman งานโรงงาน/งานการผลิต/งานควบคุมคุณภาพ งานประเมินราคา/งานเร่งรัดหนี้สิน/งานเก็บบิล งานบันเทิง นิเทศศาสตร์/งานโฆษณา Creative งานนำเข้า-ส่งออก Shipping/ฝ่ายต่างประเทศ/BOI งานส่งเอกสาร ส่งผลิตภัณฑ์/งานขับรถ/งานแม่บ้าน งานสำนักงาน/งานพัฒนาองค์กร/งานISO/งานเอกสาร งานบัญชี/งานการเงิน การธนาคาร/ตรวจสอบภายใน งานIT คอมพิวเตอร์/งานโปรแกรมเมอร์/งานเว็บไซต์ งานแพทย์/งานพยาบาล/งานเภสัชกร/งานสาธารณสุข งานประสานงาน/งานOrganizer/งานEvent/MC งานเลขา/งานประชาสัมพันธ์ บริการลูกค้า/งานธุรการ งานวิทยาศาสตร์/งานฟิสิกส์ เคมี สิ่งแวดล้อม งานดีไซน์เนอร์ เสื้อผ้า/ช่างเย็บ ปัก/ช่างแพทเทิร์น งานวิจัย/งานวิเคราะห์ วิศวกรรมการเกษตร/การชลประทาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมระบบ วิศวกรรมไฟฟ้า/อิเลคโทรนิค/สื่อสาร/โทรคมนาคม วิศวกรรมโยธา สำรวจ วิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/สุขาภิบาล วิศวกรรมอุตสาหการ/วิศวกรรมเครื่องกล โรงงาน/อื่นๆ งานผู้บริหาร/งานผู้จัดการ/งานผู้อำนวยการ/งานบริหาร จป.วิชาชีพ/เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย/งานอาชีวอนามัย งานจัดซื้อ/งานสโตร์/งานคลังสินค้า/งานLogistics งานศิลปกรรมศาสตร์/งานกราฟฟิค ดีไซน์/ช่างศิลป์ งานเศรษฐศาสตร์/งานคณิตศาสตร์/งานสถิติ งานสถาปัตยกรรมศาสตร์/งานออกแบบ ตกแต่งภายใน งานอักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์/ล่าม/แปลภาษา/ไกด์ งาน อื่นๆ ประเภท : ประเภทธุรกิจ - ทั้งหมด ไม่ระบุ งานราชการ / งานรัฐวิสาหกิจ คอมพิวเตอร์ /ไอที / IT อุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้า อุตสาหกรรมแก้ว/ เซรามิก อัญมณี / เครื่องประดับ โทรคมนาคม / สื่อสาร เฟอร์นิเจอร์ - ของแต่งบ้าน นำเข้า-ส่งออก / คมนาคมขนส่ง โรงแรม-รีสอร์ท/ ท่องเที่ยว ทัวร์ โรงงานอุตสาหกรรม / นิคม โรงพยาบาล/ สุขภาพ การศึกษา ค้าขายปลีก / ค้าขายส่ง ผลิต / ตัวแทนจำหน่าย จัดหางาน/ ที่ปรึกษา/ ฝึกอบรม รับเหมา - ก่อสร้าง/ วิศวกรรม การเงิน / การธนาคาร การพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ บริการ/ บันเทิง อิเล็กทรอนิกส์ ประกันภัย-ชีวิต พลังงาน/ ปิโตรเคมีภัณฑ์ ภัตตาคาร / ร้านอาหาร ยานยนต์ / อะไหล่ การตลาด / โฆษณา ประชาสัมพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ออกแบบตกแต่ง/ สถาปัตยกรรม สินค้าอุปโภค / บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน กฎหมาย / ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ภาค: ภาค - รวมทั้งหมด กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ ค้น: สมัครสมาชิกไปยัง กลุ่มบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย อีเมล์: ดูเอกสารที่เก็บรวบรวมไว้ ที่ groups.google.co.th ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เอกสาร และประสบการณ์ทำงาน ไม่จำกัดสาขาอาชีพ โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis) โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis) | บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย SIAMHRM.COM :- ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis), บทความ โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis), ตัวอย่าง โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis), HR, HRM โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส เป็นโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากการหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่าง ๆ ที่มีสารที่มีชื่อทางเคมีว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ หรือรู้จักในรูปที่พบได้ทั่วไปคือ ควอร์ซ เข้าไปในปอด โดยฝุ่นที่มีขนาดเล็ก 0.5-5 ไมคอน จะเข้าไปตกอยู่ในถุงลมปอด ทำให้ปอดมีปฏิกิริยาต่อต้านสาร เกิดเป็นพังผืดขึ้น จึงทำให้เนื้อเยื่อปอดส่วนนั้นไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติตลอดไป คนงานกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสประสบอันตรายจากโรคนี้คือ คนงานโรงโม่หิน คนงานเหมือง คนงานสกัด ตัด บด ย่อยหินควอร์ซ หินแกรนิต หินทราย เป็นต้น รวมถึงคนงานทำเครื่องเคลือบเซรามิค คนงานขัดโลหะโดยทราย คนงานหล่อหลอมโลหะ คนงานทำแก้ว อิฐทนไฟ ฯลฯ ในสมัยโบราณยังไม่สามารถจำแนกโรคนี้จากวัณโรคได้ จึงเรียกชื่อโรคนี้ตามอาชีพและอาการของผู้ป่วย เช่น โรคหอบของช่างขัด วัณโรคช่างขัด วัณโรคปอดของคนงานเหมือง เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2215 แพทย์ชาวฮอลแลนด์ให้ชื่อโรคนี้ว่า ซิลิโคสิส เนื่องจากพบว่าในเนื้อเยื่อปอดของผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีการสะสมตัวของฝุ่นทรายในปริมาณมากคนงานที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายดังกล่าว อาจเกิดอาการของโรคได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้- ปริมาณฝุ่นหินหรือทรายในบรรยากาศการทำงาน ในงานที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายปริมาณสูง ย่อมจะทำให้คนงานมีโอกาสหายใจเอาสารซิลิคอนได้ออกไซด์เข้าไปในปริมาณสูงด้วย- ปริมาณเปอร์เซนต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายต่าง ๆ ในธรรมชาตินั้น จะมีแตกต่างกัน ดังนั้น คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นหิน ทราย ที่มีเปอร์เซนต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์สูงก็จะเสี่ยงกับการเกิดโรคได้เร็วขึ้น- ระยะเวลาที่หายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป คนงานที่ต้องทำงานกับฝุ่นหินหรือทรายตลอดเวลาการทำงาน หรือทำงานเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ย่อมมีโอกาสเกิดโรคได้เร็วกว่าคนงานที่สัมผัสฝุ่นสารในระยะเวลาสั้น ๆ- พฤติกรรมและปัจจัยทางสุขภาพของคนงานแต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น การสูบบุหรี่ หรือมีประวัติเป็นวัณโรค จะทำให้การดำเนินของโรครุนแรงกว่าคนทั่วไปเนื่องจากซิลิโคสิสเป็นโรคเรื้อรัง และจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าหยุดการได้รับฝุ่นแล้ว อาการของโรคจะแสดงให้เห็นเมื่อมีอาการมากแล้ว โดยเริ่มด้วยอาการหายใจติดขัด เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลัง เมื่อเอกซเรย์ปอดจะเป็นเงาจ้ำ ๆ เมื่อมีอาการมากขึ้นจะมีอาการหายใจลำบาก ไอแห้ง มีเสียงหายใจบริเวณหลอดลม อกขยายตัวได้น้อยลง อาการของโรคอาจรวมถึงโรคถุงลมโป่งพอง และระยะสุดท้ายจะหายใจลำบากขึ้นเนื่องจากปอดเป็นพังผืดมากขึ้น ภาพจากการเอกซเรย์จะเห็นเป็นเงาทึบการตรวจวินิจฉัยโรค กระทำโดยการทดสอบสมรรถภาพปอด ซึ่งจะพบว่าความสามารถในการจุอากาศของปอดลดลง และคนงานมีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับการหายใจเอาฝุ่นหินฝุ่นทรายเข้าไป โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 20 ปี แต่ในกรณีที่คนงานได้รับฝุ่นซิลิกาบริสุทธิ์เข้าไปในปริมาณมาก ๆ เช่น การพ่นทราย อาจมีอาการเกิดขึ้นภายหลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ โดยเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ตามด้วยอาการไอแห้ง ๆ ต่อมาจะมีอาการแน่นหน้าอกและหอบโรคซิลิโคสิส เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันมิให้เกิดโรคนี้ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ซึ่งการป้องกันโรค มีหลักการดังนี้- เลือกใช้สารที่มีอันตรายน้อยกว่าแทน เช่น ในงานขัดโลหะใช้เม็ดเหล็กหรือเม็ดอลูมิเนียมออกไซด์แทนผงทราย เป็นต้น- ควบคุมฝุ่นที่เกิดขึ้นไม่ให้มีปริมาณเกิดค่ามาตรฐานความปลอดภัย เช่น เปิดประตูหน้าต่างโรงงานเพื่อให้มีการระบายอากาศได้ดี หรือติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ที่แหล่งกำเนิดฝุ่น เป็นต้น- เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น เช่น ใช้ระบบเปียก- แยกกระบวนการทำงานที่ก่อให้เกิดฝุ่นออกจากงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันคนงานที่ไม่เกี่ยวข้อง- หมั่นทำความสะอาดและจัดระเบียบภายในโรงงาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมฝุ่น โดยควรใช้การดูดฝุ่นแทนการปัดกวาด หรือใช้การทำให้เปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจาย- หากการป้องกันดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล ให้คนงานสวมใส่หน้ากากป้องกัน โดยเลือกชนิดที่ใช้สำหรับป้องกันฝุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อสวมแล้วต้องคลุมปาก จมูก และแนบสนิทกับใบหน้า และควรมีการตรวจสอบ บำรุงรักษาเป็นประจำ- ตรวจร่างกายคนงานประจำปี และก่อนเข้าทำงาน โดยการทดสอบสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ปอด หากผลการตรวจสุขภาพพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอด ควรได้รับการพิจารณาเปลี่ยนงานไปยังแผนกที่ไม่ต้องมีการสัมผัสฝุ่น ที่มา/ผู้ดำเนินการ : เอกสารความปลอดภัย สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จำนวนผู้ชม 7792 ครั้ง ข้อมูลในหมวดหมู่เดียวกัน ความ(ไม่)ปลอดภัยในการทำงานเรื่อง การป้องกันไฟ กองทุนเงินทดแทน : ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะบางส่วน การเก็บ ขน บำบัด และกำจัดของเสียอันตรายทำได้อย่างไร? หลักทั่วไปในการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมีในสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ยุทธศาสตร์การดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน