ข้อตกลงไม่เรียกค่าจ้างเป็นโมฆะหรือไม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ถือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้าง และลูกจ้างจะตกลง หรือทำบันทึกที่จะไม่รับสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่นำมาลงในฉบับนี้ เป็นกรณีที่ลูกจ้างตกลงจะไม่เรียกร้องเงินค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ใด ๆ จากนายจ้างที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ที่มีอยู่ในวัน หรือก่อนวันลาออกมีผล ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นโมฆะหรือไม่ ลองติดตามว่าศาลให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่แห่งเดียวกัน และเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน เมื่อระหว่างวันที่ 20 มีนาคม 2540 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2541 ระหว่างวันที่ 2พฤศจิกายน 2541 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2543 และระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ถึงวันที่ 9 มีนาคม 2544 โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยที่ 3 ตามลำดับ แต่แหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างสุดท้ายเดือนละ 100,000บาท ระหว่างที่ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามค้างชำระเงินสิทธิประโยชน์อันเกิดจากการทำงานให้แก่โจทก์ จำนวน 2,665,748.14 บาท เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินจากการทำงานเป็นค่านายหน้า หรือคอมมิชชั่น จากจำเลยทั้งสามก็ต่อเมื่อจำเลยได้รับกำไรจากงานในโครงการ และโจทก์สามารถทำยอดขายบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเลยที่ 1 ยังมีข้อตกลงกับโจทก์ว่า ในระยะเวลา 12 เดือนแรก โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่านายหน้าไม่เกิน 1,500,000 บาท โจทก์ และจำเลยทั้งสามไม่มีกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยทั้งสาม คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษายก ฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หนังสือฉบับลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย ล. 7 นายโวลฟ์ นิโคไล เอ็นซิอาน ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า การที่ศาลแรงงานกลางตีความหมายของหนังสือเอสารหมาย ล.7ว่า มีความหมายด้วยว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นในหรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 จากจำเลยที่ 3 ซึ่งหมายรวมถึงค่าตอบแทนการขาย หรือค่าคอมมิชชั่นหรือค่านายหน้าด้วยนั้น ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัยเอง โดยจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ทั้งศาลแรงงานกลางได้ตีความไม่ถูกต้องนั้น เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าสิทธิประโยชน์อันเกิดจากการทำงานของโจทก์ จำเลยทั้งสามให้การว่าระหว่างโจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งสาม โจทก์ได้รับค่าจ้างตอบแทนเป็นรายเดือนครบถ้วนแล้ว ภายหลังโจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงาน โจทก์ตกลงรับเงินผลประโยชน์พิเศษจากจำเลยทั้งสาม จำนวน 500,000 บาท และตกลงว่า จะไม่เรียกร้องเงินค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่มีอยู่ในวันหรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้าง หรือเงินสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ศาลแรงงานวินิจฉัยคำพยานโจทก์ พยานจำเลยทั้งสาม และคำแถลงรับข้อเท็จจริงของโจทก์และจำเลยทั้งสามแล้ว แปลความตามเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งมีข้อความว่า โจทก์จะไม่เรียก-ร้องสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นในหรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 จากจำเลยทั้งสาม ว่าหมายความรวมถึงค่าตอบแทนการขายหรือค่าคอมมิชชั่น หรือค่านายหน้าด้วย การวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยตามคำฟ้อง คำให้การ คำแถลงรับและพยานหลักฐานโจทก์ จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทในคดีแล้ว มิใช่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นเองโดยจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ดังอุทธรณ์ของโจทก์ ทั้งเอกสารหมาย ล.7 พร้อมคำแปลก็ระบุว่า โจทก์ลาออกจางานตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 โดยจำเลยทั้งสามจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้ จำนวน 500,000 บาท และมีข้อความตอนท้ายว่าโจทก์ไม่มีข้อเรียกร้องใด ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ หรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 ต่อจำเลยทั้งสาม ซึ่งโจทก์มิได้คัค้านว่าคำแปลดังกล่าวไม่ถูกต้อง ศาลแรงงานกลางแปลความดังกล่าวต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการที่สองมีว่า ข้อตกลงตามเอกสารหมายล.7 ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า เอกสารหมาย ล.7 มี
ที่มา: HR. Law โดย: ยงยุทธ ไชยมิ่ง
|