[กลับหน้าหลัก ความรู้ในงาน HR] ค้นหางาน ตำแหน่งงาน: กลุ่มงาน : ตำแหน่งงาน - แยกตามกลุ่มงาน งานเกษตร ประมง/งานปศุสัตว์/งานเหมืองแร่ งานบุคคล/งานฝึกอบรม/งานสรรหา/งานค่าจ้าง งานการตลาด/งานขาย ส่งเสริมการขาย/ Sale งานโรงแรม ท่องเที่ยว/งานอาหาร เครื่องดื่ม งานกฎหมาย นิติกร/งานปกครอง รัฐศาสตร์ งานราชการ/พนักงานราชการ/งานครู อาจารย์ งานช่างก่อสร้าง/ช่างสำรวจ/งานโยธา-รังวัด งานเทคนิคอุตสาหกรรม/งานซ่อมบำรุง งานช่างกล ช่างโลหะ/งานช่างเครื่อง ช่างยนต์ งานช่างอิเลคโทรนิค ช่างไฟฟ้า/ช่างคอมพิวเตอร์ งานเขียนแบบ/งานDrawing /งานDraftsman งานโรงงาน/งานการผลิต/งานควบคุมคุณภาพ งานประเมินราคา/งานเร่งรัดหนี้สิน/งานเก็บบิล งานบันเทิง นิเทศศาสตร์/งานโฆษณา Creative งานนำเข้า-ส่งออก Shipping/ฝ่ายต่างประเทศ/BOI งานส่งเอกสาร ส่งผลิตภัณฑ์/งานขับรถ/งานแม่บ้าน งานสำนักงาน/งานพัฒนาองค์กร/งานISO/งานเอกสาร งานบัญชี/งานการเงิน การธนาคาร/ตรวจสอบภายใน งานIT คอมพิวเตอร์/งานโปรแกรมเมอร์/งานเว็บไซต์ งานแพทย์/งานพยาบาล/งานเภสัชกร/งานสาธารณสุข งานประสานงาน/งานOrganizer/งานEvent/MC งานเลขา/งานประชาสัมพันธ์ บริการลูกค้า/งานธุรการ งานวิทยาศาสตร์/งานฟิสิกส์ เคมี สิ่งแวดล้อม งานดีไซน์เนอร์ เสื้อผ้า/ช่างเย็บ ปัก/ช่างแพทเทิร์น งานวิจัย/งานวิเคราะห์ วิศวกรรมการเกษตร/การชลประทาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมระบบ วิศวกรรมไฟฟ้า/อิเลคโทรนิค/สื่อสาร/โทรคมนาคม วิศวกรรมโยธา สำรวจ วิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/สุขาภิบาล วิศวกรรมอุตสาหการ/วิศวกรรมเครื่องกล โรงงาน/อื่นๆ งานผู้บริหาร/งานผู้จัดการ/งานผู้อำนวยการ/งานบริหาร จป.วิชาชีพ/เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย/งานอาชีวอนามัย งานจัดซื้อ/งานสโตร์/งานคลังสินค้า/งานLogistics งานศิลปกรรมศาสตร์/งานกราฟฟิค ดีไซน์/ช่างศิลป์ งานเศรษฐศาสตร์/งานคณิตศาสตร์/งานสถิติ งานสถาปัตยกรรมศาสตร์/งานออกแบบ ตกแต่งภายใน งานอักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์/ล่าม/แปลภาษา/ไกด์ งาน อื่นๆ ประเภท : ประเภทธุรกิจ - ทั้งหมด ไม่ระบุ งานราชการ / งานรัฐวิสาหกิจ คอมพิวเตอร์ /ไอที / IT อุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้า อุตสาหกรรมแก้ว/ เซรามิก อัญมณี / เครื่องประดับ โทรคมนาคม / สื่อสาร เฟอร์นิเจอร์ - ของแต่งบ้าน นำเข้า-ส่งออก / คมนาคมขนส่ง โรงแรม-รีสอร์ท/ ท่องเที่ยว ทัวร์ โรงงานอุตสาหกรรม / นิคม โรงพยาบาล/ สุขภาพ การศึกษา ค้าขายปลีก / ค้าขายส่ง ผลิต / ตัวแทนจำหน่าย จัดหางาน/ ที่ปรึกษา/ ฝึกอบรม รับเหมา - ก่อสร้าง/ วิศวกรรม การเงิน / การธนาคาร การพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ บริการ/ บันเทิง อิเล็กทรอนิกส์ ประกันภัย-ชีวิต พลังงาน/ ปิโตรเคมีภัณฑ์ ภัตตาคาร / ร้านอาหาร ยานยนต์ / อะไหล่ การตลาด / โฆษณา ประชาสัมพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ออกแบบตกแต่ง/ สถาปัตยกรรม สินค้าอุปโภค / บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน กฎหมาย / ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ภาค: ภาค - รวมทั้งหมด กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ ค้น: สมัครสมาชิกไปยัง กลุ่มบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย อีเมล์: ดูเอกสารที่เก็บรวบรวมไว้ ที่ groups.google.co.th ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เอกสาร และประสบการณ์ทำงาน ไม่จำกัดสาขาอาชีพ กลยุทธ์การจัดการ กับ พนักงานลาป่วยบ่อย กลยุทธ์การจัดการ กับ พนักงานลาป่วยบ่อย | บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย SIAMHRM.COM :- ข้อมูลเกี่ยวกับ กลยุทธ์การจัดการ กับ พนักงานลาป่วยบ่อย, บทความ กลยุทธ์การจัดการ กับ พนักงานลาป่วยบ่อย, ตัวอย่าง กลยุทธ์การจัดการ กับ พนักงานลาป่วยบ่อย, HR, HRM ในช่วงหน้าฝนเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาอาจได้รับรายงานการลาป่วยของพนักงานบ่อยครั้ง โดยมักจะลาป่วย เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดหัว ไข้ขึ้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากใครมีพฤติกรรมลาป่วยบ่อย ๆ จนผิดสังเกต ควรเรียกตัวมาพูดคุยซักถามถึงสาเหตุการลาป่วยบ่อย ๆ ถามถึงปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว เพื่อทราบเหตุผลที่แท้จริงและหาทางแก้ไขช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำได้ แต่หากการลาป่วยของพนักงานบางคนชวนให้สงสัยว่า ป่วย “การเมือง” หรือไม่ มีข้อสังเกตดังนี้ • มักจะลาหยุดงานเพียง 1-2 วัน ซึ่งไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ • ลาในช่วงต่อเนื่องกับวันหยุด เช่น ลาป่วยในวันจันทร์ หรือวันศุกร์ ลาป่วยก่อน หรือหลังวันหยุดตามประเพณีเป็นประจำ • แม้ว่าการลาหยุดเช่นนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ ของบริษัท แต่ HR ก็ไม่อาจนิ่งเฉยอยู่ได้ เพราะจะทำให้เสียการปกครอง และพลอยทำให้พนักงานคนอื่น ๆ ทำตามตัวอย่างที่ไม่ดีนี้ด้วย ต่อไปนี้คือสิ่งที่ HR หรือหัวหน้างานของลูกน้องจอมป่วย “การเมือง” ใช้จัดการกับพนักงานที่ลาป่วยบ่อย • ให้พนักงานมารายงานอาการป่วยในวันแรกที่กลับมาทำงาน โดย HR ทำการจดบันทึกอาการป่วยของลูกน้องอย่างละเอียด เพื่อที่ว่าเมื่อลูกน้องจะลาป่วยครั้งต่อไป จะคิดหนักขึ้นว่าจะป่วยอะไรดี จึงจะสมเหตุสมผล และไม่ถูกจับได้ ซึ่งวิธีการนี้อาจช่วยลดสถิติการลาป่วยของพนักงานได้บ้าง • ประกาศให้พนักงานทราบว่า การขาด ลา มาสาย มีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และโบนัส หากขาดงานเกินกี่วัน มาสายเกินกี่ครั้ง จะไม่ขึ้นเงินเดือนและตัดโบนัส เป็นต้น • HR ต้องจับตาดูพฤติกรรมการลาหยุดงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด อาจสุ่มไปที่บ้านของพนักงานโดยไม่ให้รู้ตัว เพื่อเยี่ยมไข้ และสอบถามอาการ รวมทั้งตรวจสอบการลาป่วยในครั้งนั้นด้วย • หากพฤติกรรมการลาเป็นที่น่าเอือมระอามาก ให้สอบถามว่าพนักงานไปรักษาที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใด แล้วไปขอดูทะเบียนคนไข้ว่ามารักษาจริงหรือไม่ • หากทราบว่ามีพฤติกรรมการลาที่ไม่ถูกต้อง ในบางรายอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย • ในกรณีที่ใช้พนักงานใช้สิทธิ์ลาป่วยครบ 30 วันแล้ว ให้แจ้งพนักงานว่า หากลาป่วยครั้งต่อไป จะพิจารณาให้ลาโดยไม่รับเงินเดือนแทน ซึ่งไม่ว่าพนักงานจะลากี่วัน ก็จะหักเงินในทุก ๆ วันที่ลาหยุด • กำหนดบทลงโทษการลาป่วยเท็จที่รุนแรงเชิงบริหาร และเชิงข้อกฎหมายถึงขั้นเลิกจ้างได้ • หากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ลูกจ้าสามารถลาป่วย ได้ถึง 30 วันต่อปี แต่ในบางรายที่การขาดงานบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานแล้วล่ะก็ ผู้บังคับบัญชาไม่ควรนิ่งเฉย ควรหามาตรการตักเตือน หรือบทลงโทษที่เด็ดขาดมาจัดการกับพนักงานเหล่านี้ เพื่อไม่ให้พนักงานดี ๆ พลอยเข้าลัทธิเอาอย่างให้เสียการปกครอง จำนวนผู้ชม 1012 ครั้ง ข้อมูลในหมวดหมู่เดียวกัน เจาะประเด็น ทำไมปัญหาการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรถึงแก้ไขไม่ได้สักที? Poor Performance Management : เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพกำลังพลในองค์กร เทคนิคการวางแผนและจัดทำงบประมาณประจำปีของ HR อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ และความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประเมินผลงาน เพื่อการปรับปรุงงาน