ผมอยากชวนคุยถึงเรื่องของ "การบริหารคน" กันครับ ว่าในขณะที่ |
|
เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารหลาย ๆ คนก็บอกว่า เขาก็ให้ความสำคัญ และ |
|
เอาจริงเอาจังกับเรื่องของ "การบริหารคน" แล้ว แต่ทำไมคนจึงทำงานไม่ได้ |
|
ดังใจเสียที |
|
เจ้าของก็บอกว่าไม่อยากให้คนทำงานเป็นแค่ "ลูกจ้าง" แต่อยากให้คน |
|
ทุ่มเทกับงานประหนึ่งเป็นเจ้าของงานหรือเจ้าของกิจการเอง |
|
ปัญหาก็คือ ทำไมไม่เป็นอย่างที่ว่า และจะทำอย่างไรจึงจะ "ได้ใจ" |
|
ในการทำงานแบบนั้น? |
|
หลายคนอาจบอกว่า ก็ใช้หลักการบริหารงานบุคคลไง คือว่ากันตั้งแต่ |
|
การรับคนเลย ก็ต้องรับคน "ที่ใช่" เข้ามาทำงาน ถ้าไม่ใช่ ไม่เหมาะ ก็อย่าไปรับ |
|
เพราะขืนไปรับเข้ามา เขาก็ "ไม่อิน" กับงานเสียที เราเองก็ได้แต่คิดว่าต้องให้ |
|
เขา "เอ้าท์" ออกไปไหมนี่ |
|
พอรับเข้ามาแล้ว ก็ต้องพัฒนาให้เขาเก่ง เขาดี พอเขาเก่งและดีแล้ว
|
|
ก็ส่งเสริมให้เขาได้เลื่อนขั้นก้าวหน้าขึ้นไป ได้สร้างผลงานที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ |
|
ในขณะเดียวกัน ก็ต้องดูแลการจ่ายค่าตอบแทนเขาให้เหมาะสมกับความรู้ |
|
ความสามารถที่เพิ่มขึ้น มีการดูแลสวัสดิภาพและสวัสดิการของคนทำงาน |
|
เป็นอย่างดี |
|
ทำได้แบบนี้ก็น่าจะดีถมเถแล้วมิใช่หรือ? |
|
ซึ่งก็คงไม่มีใครว่า ว่าไม่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำได้ขนาดนี้ก็น่าจะได้รับ |
|
"คำชม" แล้ว และถือได้ว่าดีแล้ว |
|
ถ้างั้น เรื่องนี้ก็น่าจะจบแล้ว ใช่หรือไม่ ประเด็นอยู่ที่ตรงไหนอีก? |
|
ต้องยํ้าว่า พนักงานไม่ได้เป็นแค่ "อะไร" ที่เราเข้าไป "บริหาร" เท่านั้น |
|
เขาก็เป็น "มนุษย์" เหมือนกับเรา การทำงานกับเขาจึงต้องมี "จิตใจ" เข้าไป |
|
เกี่ยวข้องเสมอ ลองดูเรื่องเหล่านี้นะครับว่า |
|
|
1. |
เรารู้สึกหรือให้ความเป็นห่วงเขาไหม เวลาเขามีปัญหาครอบครัว |
|
|
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร หรือเราคิดแต่ว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ |
|
|
เรื่องงาน เรื่องส่วนตัวก็ควรเป็นเรื่องที่แต่ละคนควรไปว่ากันเอง |
|
|
เราควรให้ความสนใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานเท่านั้น |
|
|
ถ้าคิดแบบนี้ แล้วเวลาเรื่องส่วนตัวเหล่านี้มากระทบกับการทำงาน |
|
|
ล่ะ จะปฏิเสธได้หรือว่า เรื่องส่วนตัวนั้นไม่เกี่ยวกับการทำงาน และ |
|
|
ไม่ต้องให้ความสนใจก็ได้ |
|
2. |
เราทุ่มใจในการสอน และมีความปรารถนาดีให้เขาไหม หรือเรา |
|
|
ให้การสอนก็เพราะ "เป็นหน้าที่" เท่านั้น เรารู้สึกได้ถึงความแตกต่าง |
|
|
ระหว่างครูที่สั่งสอนลูกศิษย์อย่างเป็นห่วงเป็นใย กับครูที่สอนไป |
|
|
ตามหน้าที่ได้ใช่ไหมครับ นักเรียนจะผูกพันกับครูคนไหนมากกว่ากัน |
|
|
ย่อมมีคำตอบได้โดยไม่ต้องไปไล่ถาม |
|
3. |
เรา "ให้อภัย" เขาไหม เวลาเขาทำอะไรผิดพลาด ทั้งต่องาน และ |
|
|
ต่อเรา ถ้าให้ ให้ได้บ่อยแค่ไหน หรือเพียงไม่กี่ครั้ง ก็จะ "ไม่เอาแล้ว" |
|
|
อย่าลืมนะครับว่า ทุกครั้งที่เกิดการให้อภัย ก็เปรียบเหมือนการ |
|
|
"ให้โอกาส" ต่อเขาทั้งในด้านของการปรับตัวใหม่ และที่สำคัญ |
|
|
ยังเป็นการไม่ปิดโอกาสที่เขาและเราจะมีความรู้สึกและความสัมพันธ์ |
|
|
ที่ดีต่อกันได้ต่อไปด้วย |
|
4. |
เราดูแล ทุกข์ สุข ของเขาดีไหม |
|
5. |
และอีกหลายเรื่องที่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ "ใจ" เข้าไปเกี่ยวข้อง |
|
|
สิ่งที่ว่ามาเหล่านี้ทำให้คนเรามีความรักและความผูกพันในการมีชีวิต |
|
การทำงานร่วมกัน และขอยํ้าว่า นี่ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของ "เทคนิค" แต่เป็นเรื่อง |
|
ของ "ความจริงจังและจริงใจ" ที่มีต่อกัน คนจึงจะรับรู้ความรู้สึกนั้นได้ |
|
ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้ คนเราก็จะทำงานกันแบบ "ต่างตอบแทน" |
|
เป็นสำคัญ จ่ายค่าตอบแทนดี ให้งานดี ก็ทำงานให้เต็มที่ จ่ายไม่ดี ก็ทำเท่าที่จ่าย |
|
หากพูดกันแต่ภาษานี้ จะหวังเรื่องอื่นอาจหวังได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง |
|
ของความรักความภักดี หรือความผูกพันต่อองค์การ |
|
เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า ถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่คุณ "ได้ให้" ก็เท่ากับสิ่งที่คุณ |
|
"ได้รับ" อยู่ดี เช่นเดียวกับเรื่อง "ใจ" ที่คุณให้กับพวกเขา |
|
คุณลองไม่มีใจให้แก่ใคร ก็อย่าหวังว่าจะมีใครให้ใจคุณเหมือนกัน |
|
ความจริงของเรื่อง "ใจ" ก็เป็นแบบนี้แหละครับ
บทความโดย : ไพศาล เตมีย์
|