[กลับหน้าหลัก ความรู้ในงาน HR] ค้นหางาน ตำแหน่งงาน: กลุ่มงาน : ตำแหน่งงาน - แยกตามกลุ่มงาน งานเกษตร ประมง/งานปศุสัตว์/งานเหมืองแร่ งานบุคคล/งานฝึกอบรม/งานสรรหา/งานค่าจ้าง งานการตลาด/งานขาย ส่งเสริมการขาย/ Sale งานโรงแรม ท่องเที่ยว/งานอาหาร เครื่องดื่ม งานกฎหมาย นิติกร/งานปกครอง รัฐศาสตร์ งานราชการ/พนักงานราชการ/งานครู อาจารย์ งานช่างก่อสร้าง/ช่างสำรวจ/งานโยธา-รังวัด งานเทคนิคอุตสาหกรรม/งานซ่อมบำรุง งานช่างกล ช่างโลหะ/งานช่างเครื่อง ช่างยนต์ งานช่างอิเลคโทรนิค ช่างไฟฟ้า/ช่างคอมพิวเตอร์ งานเขียนแบบ/งานDrawing /งานDraftsman งานโรงงาน/งานการผลิต/งานควบคุมคุณภาพ งานประเมินราคา/งานเร่งรัดหนี้สิน/งานเก็บบิล งานบันเทิง นิเทศศาสตร์/งานโฆษณา Creative งานนำเข้า-ส่งออก Shipping/ฝ่ายต่างประเทศ/BOI งานส่งเอกสาร ส่งผลิตภัณฑ์/งานขับรถ/งานแม่บ้าน งานสำนักงาน/งานพัฒนาองค์กร/งานISO/งานเอกสาร งานบัญชี/งานการเงิน การธนาคาร/ตรวจสอบภายใน งานIT คอมพิวเตอร์/งานโปรแกรมเมอร์/งานเว็บไซต์ งานแพทย์/งานพยาบาล/งานเภสัชกร/งานสาธารณสุข งานประสานงาน/งานOrganizer/งานEvent/MC งานเลขา/งานประชาสัมพันธ์ บริการลูกค้า/งานธุรการ งานวิทยาศาสตร์/งานฟิสิกส์ เคมี สิ่งแวดล้อม งานดีไซน์เนอร์ เสื้อผ้า/ช่างเย็บ ปัก/ช่างแพทเทิร์น งานวิจัย/งานวิเคราะห์ วิศวกรรมการเกษตร/การชลประทาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมระบบ วิศวกรรมไฟฟ้า/อิเลคโทรนิค/สื่อสาร/โทรคมนาคม วิศวกรรมโยธา สำรวจ วิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/สุขาภิบาล วิศวกรรมอุตสาหการ/วิศวกรรมเครื่องกล โรงงาน/อื่นๆ งานผู้บริหาร/งานผู้จัดการ/งานผู้อำนวยการ/งานบริหาร จป.วิชาชีพ/เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย/งานอาชีวอนามัย งานจัดซื้อ/งานสโตร์/งานคลังสินค้า/งานLogistics งานศิลปกรรมศาสตร์/งานกราฟฟิค ดีไซน์/ช่างศิลป์ งานเศรษฐศาสตร์/งานคณิตศาสตร์/งานสถิติ งานสถาปัตยกรรมศาสตร์/งานออกแบบ ตกแต่งภายใน งานอักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์/ล่าม/แปลภาษา/ไกด์ งาน อื่นๆ ประเภท : ประเภทธุรกิจ - ทั้งหมด ไม่ระบุ งานราชการ / งานรัฐวิสาหกิจ คอมพิวเตอร์ /ไอที / IT อุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้า อุตสาหกรรมแก้ว/ เซรามิก อัญมณี / เครื่องประดับ โทรคมนาคม / สื่อสาร เฟอร์นิเจอร์ - ของแต่งบ้าน นำเข้า-ส่งออก / คมนาคมขนส่ง โรงแรม-รีสอร์ท/ ท่องเที่ยว ทัวร์ โรงงานอุตสาหกรรม / นิคม โรงพยาบาล/ สุขภาพ การศึกษา ค้าขายปลีก / ค้าขายส่ง ผลิต / ตัวแทนจำหน่าย จัดหางาน/ ที่ปรึกษา/ ฝึกอบรม รับเหมา - ก่อสร้าง/ วิศวกรรม การเงิน / การธนาคาร การพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ บริการ/ บันเทิง อิเล็กทรอนิกส์ ประกันภัย-ชีวิต พลังงาน/ ปิโตรเคมีภัณฑ์ ภัตตาคาร / ร้านอาหาร ยานยนต์ / อะไหล่ การตลาด / โฆษณา ประชาสัมพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ออกแบบตกแต่ง/ สถาปัตยกรรม สินค้าอุปโภค / บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน กฎหมาย / ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ภาค: ภาค - รวมทั้งหมด กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ ค้น: สมัครสมาชิกไปยัง กลุ่มบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย อีเมล์: ดูเอกสารที่เก็บรวบรวมไว้ ที่ groups.google.co.th ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เอกสาร และประสบการณ์ทำงาน ไม่จำกัดสาขาอาชีพ ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน | บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย SIAMHRM.COM :- ข้อมูลเกี่ยวกับ ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน, บทความ ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน, ตัวอย่าง ได้ค่าชดเชย แม้ว่จะกระทำผิดซ้ำในความผิดที่ได้รับหนังสือเตือนมาก่อน, HR, HRM แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดรูปแบบของหนังสือเตือนไว้อย่างชัดแจ้ง แต่การที่นายจ้างออกหนังสือเตือนโดยไม่มีข้อความที่มีลักษณะของการเตือนตามกฎหมาย ก็อาจทำให้หนังสือเตือนฉบับนั้นใช้ไม่ได้ เมื่อลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำอีก การที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็อาจทำให้เป็นปัญหาได้ ดังตัวอย่างของคดีแรงงานที่น่าสนใจดังนี้ ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำ และก่อนเลิกจ้าง นายจ้างได้ทำหนังสือเตือนเรื่องการมาทำงานสายและลูกจ้างได้รับทราบการตักเตือนนั้นแล้ว นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างได้นำคดีมาสู่ศาลแรงงาน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า การที่ลูกจ้างมาทำงานสายเป็นประจำ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง แม้ว่าจะไม่ใช่กรณีร้ายแรง แต่นายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างจึงไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด ลูกจ้างคนเก่ง(แต่ความประพฤติการทำงานไม่น่าภาคภูมิใจ) ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาว่า นายจ้างออกหนังสือเตือนไม่ถูกต้อง จึงไม่ถือว่าเป็นหนังสือเตือนตามกฎหมาย ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า "แม้ตามกฎหมายจะไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าหนังสือเตือนจะต้องมีรูปแบบและข้อความอย่างไร แต่หนังสือเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง มิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่เอกสารที่นายจ้างจัดทำและอ้างว่าเป็นหนังสือเตือนนั้น คงมีข้อความระบุเพียงว่า "ลูกจ้างกระทำผิดมาทำงานสาย เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก และหากกระทำอีกจะต้องถูกลงโทษไว้ด้วยแต่อย่างใด เอกสารที่นายจ้างจัดทำเป็นหนังสือดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายได้" จากหลักกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา สามารถพิจารณาได้ดังนี้ ข้อยกเว้นที่ทำให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดไม่ร้ายแรง เช่น มาทำงานสาย ไม่ส่งใบลา นายจ้างจะต้องตักเตือนการกระทำดังกล่าวนั้นก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง การตักเตือนที่จะมีผลให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต้อง "ตักเตือนเป็นหนังสือ"เท่านั้น(กรณีที่ลูกจ้างมาทำงานสาย แม้นายจ้างจะตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง ก็ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชย) "หนังสือเตือน" ที่จะมีผลเป็นหนังสือเตือน ต้องมีข้อความแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำของลูกจ้างที่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และถ้อยคำทีมีลักษณะตักเตือนมิให้ลูกจ้างกระทำผิดอีก นอกจากนี้หนังสือเตือนต้องออกหรือกระทำโดยนายจ้างหรือผู้กระทำการแทนนายจ้าง หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น หนังสือเตือนควรมีข้อความต่อไปนี้ สถานที่ออกหนังสือเตือน วัน เดือน ปีที่ออกหนังสือเตือน ข้อความแสดงการแจ้งต่อตัวลูกจ้างที่กระทำผิดโดยเฉพาะเจาะจง(ไม่ควรปิดประกาศหนังสือเตือน หรือกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการประจานลูกจ้าง หรือทำให้ลูกจ้างได้รับความอับอาย ทั้งนี้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลทำให้เกิดความขัดแย้ง บาดหมางในสถานประกอบการแล้ว อาจเป็นผลให้มีคดีมาสู่ศาลอีกมากมาย) ข้อเท็จจริง หรือพฤติกรรมของลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยระบุวัน เดือน ปี เวลา สถานที่ และการกระทำนั้น(เมื่อใด ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กล่าวอ้างว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับนั้น โดยควรระบุให้เห็นว่าการกระทำของลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับฉบับใด ในข้อใด) ข้อความที่มีลักษณะเป็นการตักเตือนมิให้ลูกจ้างกระทำความผิดอีก และควรระบุว่าหากลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำหนังสือตักเตือนอีก จะลงโทษทางวินัยอย่างไร ลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้ออกหนังสือเตือน (ต้องเป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเตือน) หนังสือเตือนมีผลใช้บังคับไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิดเท่านั้น จะเห็นว่า การเตือนที่ทำเป็นหนังสืออย่างไม่ถูกต้อง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว ลูกจ้างที่มาทำงานสายบ่อยครั้งแล้วได้รับค่าชดเชย เพราะนายจ้างทำหนังสือเตือนไม่ถูกต้องก็ไม่น่าภาคภูมิใจในการกระทำของตน เพราะนอกจากจะทำให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ว ถ้านายจ้างที่ไหนรู้ก็คงไม่อยากจะรับเข้าทำงานด้วยแน่นอน ที่มา : http://www.one-stophr.com จำนวนผู้ชม 4272 ครั้ง ข้อมูลในหมวดหมู่เดียวกัน การว่าจ้างแรงงานหญิง นายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบกับลูกจ้างในกรณีใดบ้าง นายจ้างห้ามลูกจ้างลาพักผ่อนประจำปีได้หรือไม่ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ พ.ศ. ๒๕๕๒