ขั้นตอนในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ขั้นตอนในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์มีขั้นตอนโดยทั่ว ๆไป ดังนี้ การพยากรณ์กำลังคนที่ต้องการในอนาคต เป็นการพยากรณ์อุปสงค์ (Demand) ซึ่งเป็นความต้องการด้านทรัพยากรกับอุปทาน (Supply) ซึ่งเป็นปริมาณทรัพยากรในตลาดแรงงาน โดยวิเคราะห์ดูว่าทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการในอนาคตขององค์การมีจำนวนเท่าใด และมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร การพยากรณ์ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในอนาคตสามารถนำเอาวิธีทางสถิติ (Statistical method) การใช้ดุลยพินิจ (Judgement) และ ประสบการณ์ (Experience) มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนำเอาหลายวิธีการมาผสมผสานกัน ในการพยากรณ์ความต้องการกำลังคน (Manpower Forecast) ขององค์การโดยทั่วไปมีรูปแบบที่นิยมใช้กันอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1 . การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantity) จะใช้สำหรับการพยากรณ์จำนวนบุคลากรที่ต้องการ มีวิธีการที่นิยมใช้กันมาก คือ - การวิเคราะห์ปริมาณงาน (Work Load Analysis) - การวิเคราะห์กำลังคน (Work Force Analysis) วิเคราะห์ปริมาณงาน (Work Load Analysis) เป็นการพยากรณ์/คาดคะเนเกี่ยวกับปริมาณงานที่จะทำในอนาคต แล้ววิเคราะห์ปริมาณงานต่อคนที่จะสามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดและปรับเปลี่ยนออกมาในรู้ของจำนวนบุคลากรที่ต้องการ ข้อมูลที่ใช้พิจารณาในการวิเคราะห์ปริมาณงาน เช่น 1. ปริมาณงาน (ปัจจุบันและอนาคต) 2. ปริมาณงานที่บุคลากรคนหนึ่งต้องรับผิดชอบ 3. ความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรฐาน) การวิเคราะห์กำลังคน (Work Force Analysis) - การวิเคราะห์ว่าบุคลากรที่มีอยู่นั้น มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ครบ ตามปริมาณงานที่ต้องการในเวลาที่กำหนด โดยพยากรณ์/จำนวนมากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่ใช้พิจารณาในการวิเคราะห์กำลังคน 1. ปริมาณบุคลากรที่มี 2. การขาดงาน (ลาป่วย ลากิจ ลาพักผ่อน๗ 3. การหมุนเวียนของพนักงาน (ลาออก โยกย้าย เกษียณ) 4. เทคนิคในการพยากรณ์ (แนวโน้ม อัตราส่วน) 2. การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Quality) จะใช้ในการกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติของผู้ที่จะทำงานในตำแหน่งต่างๆ วิธีการที่ใช้ คือ การวิเคราะห์งาน (JA : Job Analysis) และเมื่อทำการวิเคราะห์งานแล้ว จะได้ผลลัพธ์ออกมาอีก 2 ประการ คือ - การพรรณนาลักษณะงาน (JD : Job Description) - คุณสมบัติของผู้ที่จะมาทำงาน (JS : Job Specification)
Posted by สัญจร...คนเดินทาง
|