การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : วัตถุประสงค์ของการศึกษาระบบ
1. เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์ก่อนออกจากงาน ในแง่มุมของผู้สมัครและในส่วนขององค์การ
2. ดำเนินการออกแบบการวิเคราะห์งาน สมรรถนะหลักของตำแหน่งเป้าหมายได้ และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
3. สามารถกำหนดองค์ประกอบหรือมิติที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ได้อย่างเหมาะสม ระบุพฤติกรรมบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในระดับต่างๆ ของผู้สมัครแต่ละคนได้
4. สามารถตั้งคำถาม ลำดับการซักถาม คำถามติดตามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้
5. มีทักษะในการสังเกต ในการซักถาม จดบันทึก ทักษะในการรับฟังและให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดีได้
6. สร้างแบบประเมินที่เหมาะสมกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแต่ละประเภทได้ดี มีการกำหนดค่าน้ำหนัก การเปรียบเทียบผลการประเมินแต่ละวิธีได้อย่างสมเหตุสมผล และอธิบายได้
7. บอกขั้นตอนและแนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม กรรมการสัมภาษณ์ การเตรียมการต่างๆ ก่อนการสัมภาษณ์
8. ออกแบบแนวทางการติดตามผลสำเร็จของการสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้างได้ ที่จะตอบคำถามได้ว่าการสัมภาษณ์นั้นๆ ดี แล้วหรือไม่ จำแนกคนได้หรือไม่ มีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร ควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมเช่นไร
9. สามารถเข้ารับการสัมภาษณ์อย่างมั่นใจ และปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างเหมาะสม
อ้างอิงจาก : หนังสือการสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง
โดย : ดร. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย
|