[กลับหน้าหลัก บทความการบริหารทรัพยากรมนุษย์] ค้นหางาน ตำแหน่งงาน: กลุ่มงาน : ตำแหน่งงาน - แยกตามกลุ่มงาน งานเกษตร ประมง/งานปศุสัตว์/งานเหมืองแร่ งานบุคคล/งานฝึกอบรม/งานสรรหา/งานค่าจ้าง งานการตลาด/งานขาย ส่งเสริมการขาย/ Sale งานโรงแรม ท่องเที่ยว/งานอาหาร เครื่องดื่ม งานกฎหมาย นิติกร/งานปกครอง รัฐศาสตร์ งานราชการ/พนักงานราชการ/งานครู อาจารย์ งานช่างก่อสร้าง/ช่างสำรวจ/งานโยธา-รังวัด งานเทคนิคอุตสาหกรรม/งานซ่อมบำรุง งานช่างกล ช่างโลหะ/งานช่างเครื่อง ช่างยนต์ งานช่างอิเลคโทรนิค ช่างไฟฟ้า/ช่างคอมพิวเตอร์ งานเขียนแบบ/งานDrawing /งานDraftsman งานโรงงาน/งานการผลิต/งานควบคุมคุณภาพ งานประเมินราคา/งานเร่งรัดหนี้สิน/งานเก็บบิล งานบันเทิง นิเทศศาสตร์/งานโฆษณา Creative งานนำเข้า-ส่งออก Shipping/ฝ่ายต่างประเทศ/BOI งานส่งเอกสาร ส่งผลิตภัณฑ์/งานขับรถ/งานแม่บ้าน งานสำนักงาน/งานพัฒนาองค์กร/งานISO/งานเอกสาร งานบัญชี/งานการเงิน การธนาคาร/ตรวจสอบภายใน งานIT คอมพิวเตอร์/งานโปรแกรมเมอร์/งานเว็บไซต์ งานแพทย์/งานพยาบาล/งานเภสัชกร/งานสาธารณสุข งานประสานงาน/งานOrganizer/งานEvent/MC งานเลขา/งานประชาสัมพันธ์ บริการลูกค้า/งานธุรการ งานวิทยาศาสตร์/งานฟิสิกส์ เคมี สิ่งแวดล้อม งานดีไซน์เนอร์ เสื้อผ้า/ช่างเย็บ ปัก/ช่างแพทเทิร์น งานวิจัย/งานวิเคราะห์ วิศวกรรมการเกษตร/การชลประทาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมระบบ วิศวกรรมไฟฟ้า/อิเลคโทรนิค/สื่อสาร/โทรคมนาคม วิศวกรรมโยธา สำรวจ วิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/สุขาภิบาล วิศวกรรมอุตสาหการ/วิศวกรรมเครื่องกล โรงงาน/อื่นๆ งานผู้บริหาร/งานผู้จัดการ/งานผู้อำนวยการ/งานบริหาร จป.วิชาชีพ/เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย/งานอาชีวอนามัย งานจัดซื้อ/งานสโตร์/งานคลังสินค้า/งานLogistics งานศิลปกรรมศาสตร์/งานกราฟฟิค ดีไซน์/ช่างศิลป์ งานเศรษฐศาสตร์/งานคณิตศาสตร์/งานสถิติ งานสถาปัตยกรรมศาสตร์/งานออกแบบ ตกแต่งภายใน งานอักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์/ล่าม/แปลภาษา/ไกด์ งาน อื่นๆ ประเภท : ประเภทธุรกิจ - ทั้งหมด ไม่ระบุ งานราชการ / งานรัฐวิสาหกิจ คอมพิวเตอร์ /ไอที / IT อุตสาหกรรมสิ่งทอ/ เสื้อผ้า อุตสาหกรรมแก้ว/ เซรามิก อัญมณี / เครื่องประดับ โทรคมนาคม / สื่อสาร เฟอร์นิเจอร์ - ของแต่งบ้าน นำเข้า-ส่งออก / คมนาคมขนส่ง โรงแรม-รีสอร์ท/ ท่องเที่ยว ทัวร์ โรงงานอุตสาหกรรม / นิคม โรงพยาบาล/ สุขภาพ การศึกษา ค้าขายปลีก / ค้าขายส่ง ผลิต / ตัวแทนจำหน่าย จัดหางาน/ ที่ปรึกษา/ ฝึกอบรม รับเหมา - ก่อสร้าง/ วิศวกรรม การเงิน / การธนาคาร การพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ บริการ/ บันเทิง อิเล็กทรอนิกส์ ประกันภัย-ชีวิต พลังงาน/ ปิโตรเคมีภัณฑ์ ภัตตาคาร / ร้านอาหาร ยานยนต์ / อะไหล่ การตลาด / โฆษณา ประชาสัมพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ออกแบบตกแต่ง/ สถาปัตยกรรม สินค้าอุปโภค / บริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน กฎหมาย / ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ภาค: ภาค - รวมทั้งหมด กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ ค้น: สมัครสมาชิกไปยัง กลุ่มบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย อีเมล์: ดูเอกสารที่เก็บรวบรวมไว้ ที่ groups.google.co.th ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ เอกสาร และประสบการณ์ทำงาน ไม่จำกัดสาขาอาชีพ จะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่ จะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่ | บทความการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย SIAMHRM.COM :- ข้อมูลเกี่ยวกับ จะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่ , ตัวอย่าง ข้อมูลเกี่ยวกับ จะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่, บทความ ข้อมูลเกี่ยวกับ จะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่ โดย...สุทธิพันธุ์ พิมลแสงสุริยา ตลาดแรงงานในปัจจุบัน นับวันการแข่งขัน ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นักศึกษาจบใหม่ก้าวออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัยมีเพิ่มขึ้นจนน่าใจหาย ในรุ่นผมหากได้เข้าทำงานที่ไหนแล้วก็มักจะอยู่ทน (แม้ว่าต้องทนอยู่) จะไต่เต้าจากตำแหน่งเล็กๆ แล้วก็ก้าวหน้าอยู่ในองค์กรเดิม ซึ่งนั่นก็ทำให้คนรุ่นผมรู้สึกถึงความมั่นคงในการทำงานแล้ว แต่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ เมื่อผมพบว่าจะหาพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานสัก 10 ปี และทำงานอยู่ในองค์กรเดิม จะมีซักกี่คน ผมว่าถ้าไปตรวจสอบกันดูจริงๆ คงเหลืออยู่ไม่มาก คุณว่าจริงมั้ย!! องค์กรต่างๆ จึงพยายามหากลยุทธ์ในการรักษาพนักงานให้ทำงานกับองค์กรนั้นๆ ให้ยาวนานเหมือนเช่นในอดีต เพราะการสร้างพนักงานคนหนึ่ง องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย หากพนักงานอยู่ไม่นาน ก็จะทำให้องค์กรเกิดต้นทุนในการสร้างคนสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ทำไมพนักงานที่อยู่กับองค์กรนานๆ จึงเหลือน้อยลงทุกที ความภักดีที่พนักงานเคยมีให้กับองค์กรยังมีอยู่อีกหรือไม่? ผมเคยอ่านบทความ พบว่ามีการวิจัยพนักงานใหม่ ที่เข้าทำงานครั้งแรกส่วนใหญ่ตั้งใจว่าจะทำงานในองค์กรนั้นไม่เกิน 2 ปี ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?? คุณว่าเป็นเพราะพนักงานเดี๋ยวนี้มีความอดทนน้อยลงใช่หรือไม่? สำหรับผมกลับมีความเห็นว่าเราจะไปโทษพนักงานฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกนัก สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ก็เป็นสาเหตุด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาเพิ่มศักยภาพของตัวเองอย่างมากมาย ทั้งการเรียนพิเศษเพิ่มเติม การเรียนภาษาที่สาม สี่ ห้า รวมไปถึงกระแสโรงเรียนอินเตอร์ฯ ที่กำลังมาแรงมาก หากเด็กๆ รุ่นนี้จบและเข้าสู่ตลาดแรงงาน จะยิ่งพบกับความแตกต่างมากกว่านี้ จริงอยู่การที่พนักงานจะอยู่หรือไป ส่วนหนึ่งขึ้นกับตัวพนักงาน แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือตัวองค์กรด้วย ในทุกองค์กรมี 2 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้พนักงานออกไปจากองค์กรนั้น คือปัจจัยภายในองค์กรเอง กับปัจจัยภายนอก “ปัจจัยภายในองค์กร” เช่น การเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ถูกหัวหน้าตำหนิทุกวัน งานมากเกินไป งานไม่ท้าทาย ฯลฯ ส่วน “ปัจจัยภายนอก” เช่น เงินเดือนของบริษัทอื่นมากกว่า ออกไปเรียนต่อ กลับไปช่วยกิจการที่บ้าน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การที่พนักงานได้รับแรงกดดันจากปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจยังไม่ทำให้ตัดสินใจออกไปจากองค์กร แต่เมื่อมีแรงกดดันจากทั้ง 2 ปัจจัยเข้ามาพร้อมกัน วันนั้นอาจทำให้พนักงานตัดสินใจไปก็ได้ เช่น หากเมื่อเช้าเพิ่งทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน แถมยังถูกหัวหน้าเรียกไปตำหนิ ตกบ่ายเพื่อนที่อยู่ต่างองค์กรโทรมาชวนไปทำงานด้วยกัน ผมเชื่อว่าแบบนี้มีโอกาสไปมากกว่าอยู่ ทั้งๆ ที่ถ้าเพียงแต่ถูกหัวหน้าตำหนิแต่เพื่อนไม่ได้โทรมาชวน หรือว่าเพื่อนโทรมาชวน แต่ว่ายังสนุกกับงานที่ทำ เขาก็คงยังไม่ไป สิ่งที่อยากแนะนำคือปัจจัยภายนอกเราไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น ควรให้ความสนใจกับปัจจัยภายในองค์กรมากกว่า และปกติปัจจัยภายในที่มีผลต่อการทำงานของพนักงานประกอบดัวย 3 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ตัวองค์กรเอง ลักษณะงานที่ทำอยู่ และหัวหน้างาน สำหรับผมเชื่อว่าปัจจัยที่มีผลทำให้พนักงานลาออกมากที่สุด คือ“ตัวหัวหน้า” นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ องค์กรต้องให้ความรู้กับหัวหน้าในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการ“บริหารคน” ไม่ใช่เน้นเรื่องการ “บริหารงาน” เพียงอย่างเดียว แล้วท่านผู้อ่านหละครับ คิดว่าพนักงานจะอยู่หรือไป...ขึ้นกับอะไรกันแน่ โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ จำนวนผู้ชม 6137 ครั้ง ข้อมูลบทความ ในหมวดหมู่เดียวกัน เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์ อย่างไรดี 3 รูปแบบของ Resume เทคนิคสมัครงานของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. "พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ หางานยุคใหม่ หมดยุค "เรซูเม่" เขียน Resume อย่างไร ให้ได้งาน